Home » » “อาเซียน-จีน” ตกลงตั้ง “สายด่วน-หลักปฏิบัติ” เลี่ยงเหตุปะทะในทะเลจีนใต้


 แฟ้มภาพเอเอฟพีวันที่ 14 พ.ค. 2557 เผยให้เห็นเรือรักษาการณ์ชายฝั่งของจีน (ด้านหลัง) แล่นอยู่ใกล้กับเรือรักษาการณ์ชายฝั่งของเวียดนาม (ด้านหน้า) ใกล้กับแท่นขุดเจาะน้ำมันในน่านน้ำพิพาทในทะเลจีนใต้ เจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์เผยว่าอาเซียนและจีนเห็นชอบที่จะตั้งสายด่วนและลงนามระเบียบปฏิบัติเพื่อเลี่ยงการปะทะทางเรือในน่านน้ำพิพาทแห่งนี้. -- Agence France-Press/Hoang Dinh Nam. รอยเตอร์ - ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน จะจัดตั้งสายด่วนและหลักปฏิบัติในการสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันทางเรือในน่านน้ำพิพาทของทะเลจีนใต้ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ระบุ หลักปฏิบัติจะลงนามกันที่ลาวในสัปดาห์หน้า ที่ผู้นำ 10 ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะพบหารือกับผู้นำจากชาติมหาอำนาจต่างๆ ทั้ง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย รัสเซีย และสหรัฐฯ ในการประชุมที่จะดำเนินเป็นเวลา 3 วัน กลไกที่เรียกว่า ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการเผชิญหน้าอย่างไม่คาดฝันในทะเล (Code for Unplanned Encounters at Sea -CUES) จะเป็นกลไกใหม่สำหรับอาเซียน และจีน “มันเป็นวิธีการหนึ่งของการลดระดับความตึงเครียดในทะเลจีนใต้” เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวในการแถลงข่าว จีนอ้างกรรมสิทธิ์เกือบทั้งหมดของทะเลจีนใต้ที่เป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าที่มีมูลค่าราว 5 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเวียดนาม ต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่บางส่วนของทะเลแห่งนี้ ที่เชื่อว่าอุดมด้วยน้ำมัน และก๊าซ “สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะอุบัติเหตุใดๆ ก็ตามที่สามารถนำไปสู่การเผชิญหน้า จะถูกเลี่ยงไปหากกองทัพเรือ และรักษาการณ์ชายฝั่งของเราสื่อสารกัน” ผู้บัญชาการกองทัพเรือฟิลิปปินส์ กล่าว ผู้บัญชาการกองทัพเรืออาวุโสรายนี้ยังระบุว่า เคยมีกรณีในอดีตที่เรือจีนไม่ตอบสนองการสื่อสารทั้งทางวิทยุ และสัญญาณเมื่อเผชิญหน้ากับเรือของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ หากไม่คำนึงถึงข้อตกลงนี้ เป็นที่คาดว่าสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย จะเรียกร้องให้จีนเคารพและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลในกรุงเฮกเมื่อเดือน ก.ค. โดยคำตัดสินของศาลนั้นสร้างความไม่พอใจต่อปักกิ่ง ที่ระบุว่า จีนไม่มีสิทธิทางประวัติศาสตร์เหนือทะเลจีนใต้ และจีนยังละ
ads


0 comments:

Post a Comment

Powered by Blogger.

Blog Archive

Random Posts

Social Share

Find Us On Facebook

Sponsor

Popular Posts

Recent comments

Recent Comments

Random Posts

Popular Posts

Popular Posts